เรื่องย่อ รีวิว วิเคราะห์ วิจารณ์ Operation Avalanche
ตอนแรกที่รู้ว่าจะมีหนังเรื่อง Operation Avalanche: ปฏิบัติการลวงโลก ก็แอบคาดหวังนะว่าหนังมันจะออกแนวกึ่งสารคดี มีการแฉให้ชาวโลกกระจ่างจริง ๆ ไม่มากก็น้อย แต่ปรากฏว่าหนังมันเป็น “mockumentary” ที่แต่งขึ้นตามจินตนาการและความเนิร์ดของผู้กำกับ Matt Johnson เรื่องราวในหนังอยู่ในช่วงสงครามเย็นที่มีการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์อวกาศระหว่างสองผู้นำโลก เมื่อ CIA สงสัยว่าองค์การนาซ่าจะมีสายลับโซเวียตแฝงตัวอยู่เพื่อทำลายภารกิจพิชิตดวงจันทร์ สองสายลับจึงถูกส่งไปในนาซ่าในคราบของคนทำหนังสารคดีเพื่อสืบหาสายลับคนนั้น แต่กลับพบว่านาซ่าอาจมีศักยภาพและเทคโนโลยีไปถึงแถวดวงจันทร์ แต่ยังไม่ดีพอที่จะพามนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ได้ พวกเขาเลยต้องถ่ายภาพจัดฉากการลงจอดนั้นเองขึ้น ทั้งนี้มีการอ้างเอาเทคนิคการถ่ายหนังจากผู้กำกับคนดังอย่าง Stanley Kubrick ซึ่งตอนนั้นกำลังถ่ายทำหนังไซไฟอวกาศเรื่อง 2001: A Space Odyssey อยู่พอดีด้วย การถ่ายทำหนังเรื่อง Operation Avalanche ผู้กำกับเลือกใช้กล้อง Blackmagic Pocket Cinema ประกอบเลนส์ถ่ายหนัง 16 มม. ด้วยตัวเซ็นเซอร์ 2K RED เป็นอุปกรณ์หลัก ฟิล์มเก่า ๆ ภาพเกรน ๆ ทำให้ดูเป็นหนังย้อนยุค อารมณ์เหมือนเรากำลังดูหนังที่ถ่ายในยุค 1960s ที่ถูกฝังใต้ดินแล้วเพิ่งถูกค้นพบในปีนี้ การถ่ายแบบ found footage แบบกองโจรทำให้คนดูถูกลวงให้มีความรู้สึกว่ากำลังดูเรื่องจริง หรือกำลังดูตัวละครสร้างหนังสารคดีหรือถ่ายทำภาพลวงโลกนั้นอยู่จริง ๆ ซึ่งนับว่าหนังคอนเซ็ปต์ชัดดีนะ สตรองกับพอยต์ “ลวงโลก” ดี และเล่นกับเรื่องความ “ทะเยอะทะยาน” ของมนุษย์ ผสมกับรูปแบบของหนังแนวสืบสวนสอบสวน แต่มีช่วงครึ่งหลังที่เริ่มดูเลอะเทอะ ช่องโหว่เยอะ แล้วพอคนดูเริ่มรู้ตัวว่าตัวเองไม่ได้กำลังดู “เรื่องจริง” อยู่ หนังก็เริ่มสนุกน้อยลง และเริ่มคาดเดาตอนจบได้ไม่ยาก แต่พอดูหนังจบแล้ว เราก็ยังไม่รู้ความจริงอีกอยู่ดีว่าตกลงความจริงคืออะไรกันแน่… Neil Armstrong ไปถึงดวงจันทร์จริงหรือเปล่า… เพราะมันอาจจะเป็นการโกหกครั้งใหญ่ที่โลกไม่อยากให้ใครรู้ตลอดกาล โดยสรุป Operation Avalanche เป็นหนังที่ไอเดียตั้งต้นดี ตัดต่อลำดับภาพดี ดูผู้กำกับมีความตั้งใจ ฉีกสไตล์การทำหนังทั่วไป คุมโทนโปรดักชั่นให้มีความ 1960s ได้ดี อีกทั้งยังกำกับเองเล่นเองอีกต่างหาก แต่เราว่าโดยรวมเราว่ายังเป็นหนังที่ไม่ตอบโจทย์ความสนุก แลนด์ดิ้งไม่สวย คะแนนตามความชอบส่วนตัว 6.5/10
ตอนแรกที่รู้ว่าจะมีหนังเรื่อง Operation Avalanche: ปฏิบัติการลวงโลก ก็แอบคาดหวังนะว่าหนังมันจะออกแนวกึ่งสารคดี มีการแฉให้ชาวโลกกระจ่างจริง ๆ ไม่มากก็น้อย แต่ปรากฏว่าหนังมันเป็น “mockumentary” ที่แต่งขึ้นตามจินตนาการและความเนิร์ดของผู้กำกับ Matt Johnson เรื่องราวในหนังอยู่ในช่วงสงครามเย็นที่มีการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์อวกาศระหว่างสองผู้นำโลก เมื่อ CIA สงสัยว่าองค์การนาซ่าจะมีสายลับโซเวียตแฝงตัวอยู่เพื่อทำลายภารกิจพิชิตดวงจันทร์ สองสายลับจึงถูกส่งไปในนาซ่าในคราบของคนทำหนังสารคดีเพื่อสืบหาสายลับคนนั้น แต่กลับพบว่านาซ่าอาจมีศักยภาพและเทคโนโลยีไปถึงแถวดวงจันทร์ แต่ยังไม่ดีพอที่จะพามนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ได้ พวกเขาเลยต้องถ่ายภาพจัดฉากการลงจอดนั้นเองขึ้น ทั้งนี้มีการอ้างเอาเทคนิคการถ่ายหนังจากผู้กำกับคนดังอย่าง Stanley Kubrick ซึ่งตอนนั้นกำลังถ่ายทำหนังไซไฟอวกาศเรื่อง 2001: A Space Odyssey อยู่พอดีด้วย การถ่ายทำหนังเรื่อง Operation Avalanche ผู้กำกับเลือกใช้กล้อง Blackmagic Pocket Cinema ประกอบเลนส์ถ่ายหนัง 16 มม. ด้วยตัวเซ็นเซอร์ 2K RED เป็นอุปกรณ์หลัก ฟิล์มเก่า ๆ ภาพเกรน ๆ ทำให้ดูเป็นหนังย้อนยุค อารมณ์เหมือนเรากำลังดูหนังที่ถ่ายในยุค 1960s ที่ถูกฝังใต้ดินแล้วเพิ่งถูกค้นพบในปีนี้ การถ่ายแบบ found footage แบบกองโจรทำให้คนดูถูกลวงให้มีความรู้สึกว่ากำลังดูเรื่องจริง หรือกำลังดูตัวละครสร้างหนังสารคดีหรือถ่ายทำภาพลวงโลกนั้นอยู่จริง ๆ ซึ่งนับว่าหนังคอนเซ็ปต์ชัดดีนะ สตรองกับพอยต์ “ลวงโลก” ดี และเล่นกับเรื่องความ “ทะเยอะทะยาน” ของมนุษย์ ผสมกับรูปแบบของหนังแนวสืบสวนสอบสวน แต่มีช่วงครึ่งหลังที่เริ่มดูเลอะเทอะ ช่องโหว่เยอะ แล้วพอคนดูเริ่มรู้ตัวว่าตัวเองไม่ได้กำลังดู “เรื่องจริง” อยู่ หนังก็เริ่มสนุกน้อยลง และเริ่มคาดเดาตอนจบได้ไม่ยาก แต่พอดูหนังจบแล้ว เราก็ยังไม่รู้ความจริงอีกอยู่ดีว่าตกลงความจริงคืออะไรกันแน่… Neil Armstrong ไปถึงดวงจันทร์จริงหรือเปล่า… เพราะมันอาจจะเป็นการโกหกครั้งใหญ่ที่โลกไม่อยากให้ใครรู้ตลอดกาล โดยสรุป Operation Avalanche เป็นหนังที่ไอเดียตั้งต้นดี ตัดต่อลำดับภาพดี ดูผู้กำกับมีความตั้งใจ ฉีกสไตล์การทำหนังทั่วไป คุมโทนโปรดักชั่นให้มีความ 1960s ได้ดี อีกทั้งยังกำกับเองเล่นเองอีกต่างหาก แต่เราว่าโดยรวมเราว่ายังเป็นหนังที่ไม่ตอบโจทย์ความสนุก แลนด์ดิ้งไม่สวย คะแนนตามความชอบส่วนตัว 6.5/10
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น